สุขภาพดีสร้างได้ ด้วยการอ่านฉลากโภชนาการ ก่อนเลือกซื้อ
Key Takeaways
- ฉลากโภชนาการ คือ ฉลากอาหารที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลสารอาหารของผลิตภัณฑ์อาหารนั้น ๆ ซึ่งมีส่วนช่วยให้เลือกซื้ออาหารได้เหมาะสม, ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น, ส่งเสริมการทานอาหารเพื่อสุขภาพ และ มีอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้เลือกเยอะขึ้น
- วิธีการอ่านฉลากโภชนาการจะต้องทำความเข้าใจกับคำต่าง ๆ ให้ดี ไม่ว่าจะเป็น หนึ่งหน่วยบริโภค, จำนวนหน่วยบริโภคต่อบรรจุภัณฑ์, พลังงานทั้งหมด, สารอาหารต่าง ๆ และ ร้อยละปริมาณที่แนะนำต่อวัน
ยุคนี้สมัยนี้อะไรก็หาซื้อง่ายไปซะหมด โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามไลฟ์สไตล์ของคนในยุคปัจจุบันที่ต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบมากขึ้น ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะไม่ได้สนใจกับการอ่านฉลากโภชนาการด้านหลังบรรจุภัณฑ์สักเท่าไร อาจจะเพราะไม่เห็นถึงความสำคัญหรืออ่านแล้วก็ไม่เข้าใจอยู่ดี วันนี้ Thai Nippon Foods เลยจะแชร์วิธีอ่านฉลากโภชนาการ ว่าต้องดูตรงไหนและอ่านอย่างไรถึงจะเข้าใจ
Table of Contents
ฉลากโภชนาการ คืออะไร?
“ ตัวช่วยสร้างสุขภาพดี ”
เวลาเราซื้ออาหารสำเร็จรูป ขนม นม หรือน้ำผลไม้ มาทานที่บ้าน แล้วเห็นว่าด้านหลังจะกล่องข้อความหลาย ๆ บรรทัดอยู่ สิ่งนี้นี่แหละที่เรียกว่า ‘ฉลากโภชนาการ’ ซึ่ง ฉลากโภชนาการ คือ ฉลากอาหารที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลสารอาหารของอาหารนั้น ๆ ซึ่งจะมีแพทเทิร์นคล้าย ๆ กัน คือ มีการใช้คำและการระบุลำดับสารอาหารที่อยู่ในตารางเหมือนกัน
โดยการอ่านฉลากโภชนาการอาจจะต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจเล็กน้อย เพื่อให้อ่านฉลากโภชนาการได้อย่างถูกต้อง เพราะหากไปเลือกซื้ออาหารโดยที่ไม่รู้วิธีอ่านฉลากโภชนาการที่ถูกต้อง ก็จะทำให้คำนวณสารอาหารผิดไป และอาจจะทำให้เลือกซื้อสินค้าที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการ เพราะว่าเข้าใจผิดนั่นเอง
1. ฉลากโภชนาการมีข้อดียังไง?
- เลือกซื้ออาหารได้เหมาะสม เมื่อเราอ่านฉลากโภชนาการได้อย่างถูกต้องแล้ว มันก็จะช่วยให้เราสามารถเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมและตอบโจทย์ความต้องการได้ เช่น ผู้ที่มีค่าไตสูงก็จะเลือกอาหารที่มีโซเดียมต่ำได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น
- ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ด้วยความที่ในปัจจุบันมีสินค้าและผลิตภัณฑ์อาหารให้เลือกเยอะแยะมากมาย ทำให้เวลาเลือกซื้ออาหารจะต้องเปรียบเทียบจากราคาและปริมาณเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้ารู้วิธีอ่านฉลากโภชนาการแล้ว ก็จะเลือกอันที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีกว่าได้
- ส่งเสริมการทานอาหารเพื่อสุขภาพ เพราะบรรจุภัณฑ์อาหารหลาย ๆ ขนาด ไม่ได้ผลิตมาให้ทานหมดภายในครั้งเดียว และฉลากโภชนาการนี่แหละที่จะเป็นตัวบอกให้ผู้บริโภคสามารถจำกัดการทานได้อย่างถูกต้อง ซึ่งช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดีได้
- มีอาหารที่ดีต่อสุขภาพเยอะขึ้น เพราะเมื่อทุกคนเริ่มเข้าใจและอ่านฉลากโภชนาการได้อย่างถูกต้อง ก็จะทำให้ผู้ผลิตกระตือรือร้นที่จะพัฒนาสินค้าของตัวเองให้มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีมากขึ้น เพื่อต่อสู้กับแบรนด์คู่แข่ง
วิธีการอ่านฉลากโภชนาการ
หลายคนที่เคยพลิกดูฉลากด้านหลังแล้วเห็นตัวอักษรและตัวเลขเยอะ ๆ ก็อาจคิดว่าการอ่านฉลากโภชนาการให้เข้าใจเป็นเรื่องยาก แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย เพราะถ้าเราเข้าใจแก่นของฉลากโภชนาการเมื่อไร การอ่านฉลากโภชนาการก็จะกลายเป็นเรื่องเบสิกไปเลย
1. หนึ่งหน่วยบริโภค
จะอยู่ในบรรทัดแรกของฉลากโภชนาการเลย ซึ่ง หนึ่งหน่วยบริโภค นั้นหมายถึง ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อ 1 ครั้ง เช่น หนึ่งหน่วยบริโภค : 1/2 ถุง (20 กรัม) ก็จะหมายถึงแนะนำให้ทานครั้งละครึ่งถุงหรือครั้งละ 20 กรัม ซึ่งจะได้รับปริมาณพลังงานและสารอาหารตามตัวเลขที่ระบุเอาไว้ในฉลากด้านล่าง ซึ่งเป็นการอ่านฉลากโภชนาการที่สำคัญมาก ๆ เพราะถ้าข้ามส่วนนี้ไปอาจทำให้คำนวณผิดได้
2. จำนวนหน่วยบริโภคต่อบรรจุภัณฑ์
ด้วยความที่โปรตีนมีหน้าที่รักษาสมดุลของสิ่งต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ให้อยู่ในระดับปกติ ไม่ว่าจะเป็นปริมาณน้ำตาลในเลือด, ปริมาณน้ำในหลอดเลือดและเเป็นรายละเอียดที่อยู่ในบรรทัดต่อมา ซึ่ง จำนวนหน่วยบริโภคต่อบรรจุภัณฑ์ นั้นหมายถึง จำนวนครั้งของหนึ่งหน่วยบริโภคต่อ 1 บรรจุภัณฑ์ เช่น จำนวนหน่วยบริโภคต่อบรรจุภัณฑ์ : 2 จะหมายความว่าทั้งบรรจุภัณฑ์นี้สามารถทานได้ทั้งหมด 2 ครั้งนั่นเอง
3. ปริมาณแคลอรี
เป็นการอ่านฉลากโภชนาการที่ต้องระวังให้ดีเพราะในส่วนนี้คนชอบเข้าใจผิดอยู่บ่อย ๆ ซึ่งปริมาณแคลอรีหรือพลังงานทั้งหมด นั้นหมายถึง จำนวนแคลอรีที่จะได้รับต่อหนึ่งหน่วยบริโภค เช่น พลังงานทั้งหมด 130 กิโลแคลอรี จะหมายถึงหากเราทานทั้งถุงในครั้งเดียว เราจะได้รับปริมาณแคลอรีทั้งหมด 130 x 2 = 260 กิโลแคลอรีนั่นเอง
4. ปริมาณสารอาหาร
ในช่องต่อมาจะเป็นปริมาณสารอาหารต่าง ๆ ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างมากต่อคนที่มีปัญหาสุขภาพหรือคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจในการอ่านฉลากโภชนาการในส่วนนี้ให้ดี โดยรายละเอียดในส่วนนี้จะประกอบไปด้วย
- ชื่อสารอาหาร มีทั้งไขมันทั้งหมด, ไขมันอิ่มตัว, โคเลสเตอรอล, โปรตีน, คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด, ใยอาหาร, น้ำตาล และโซเดียม
- ปริมาณสารอาหาร เป็นจำนวนปริมาณสารอาหารต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ซึ่งหากทานหมดภายในทีเดียวก็ให้เอาตัวเลขของสารอาหารนั้น ๆ ไปคุณกับจำนวนหน่วยบริโภคต่อบรรจุภัณฑ์ ก็จะได้เป็นปริมาณสารอาหารทั้งหมดที่ได้รับ
- ร้อยละปริมาณที่แนะนำต่อวัน เป็นเปอร์เซ็นต์ของสารอาหารนั้น ๆ ในหนึ่งหน่วยบริโภค ซึ่งคำนวณจากปริมาณที่แนะนำต่อวันของคนที่ต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี
ถือเป็นการอ่านฉลากโภชนาการที่ต้องอาศัยทั้งการคำนวณและความรู้เกี่ยวกับสารอาหารนั้น ๆ อย่าง คนที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงก็ควรเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณไขมันเยอะ ส่วนคนที่มีปัญหาเรื่องความดันสูงก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง เป็นต้น
5. ร้อยละปริมาณที่แนะนำต่อวัน
อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าตรงนี้เป็นค่าที่ถูกคำนวณมาจากปริมาณที่แนะนำต่อวันของคนที่ต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี ซึ่งเป็นส่วนที่หลายคนอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจและไม่รู้ว่าจำนวนเท่าไรคือเยอะหรือจำนวนเท่าไรคือน้อย
วิธีอ่านฉลากโภชนาการในส่วนนี้แบบง่าย ๆ เลย คือ หากเปอร์เซ็นต์ที่ได้น้อยกว่า 5 แสดงว่ามีสารอาหารนั้นน้อย แต่เมื่อไรที่มีเปอร์เซ็นต์มากกว่า 20 แสดงว่ามีสารอาหารนั้นเยอะ ดังนั้นผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีต่อสุขภาพ จะต้องมีสารอาหารดีอย่างใยอาหารมากกว่า 20% และสารอาหารไม่ดีอย่างไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า 5% นั่นเอง
4 จุดสำคัญที่ต้องเช็กก่อนซื้อ
- ปริมาณพลังงาน โดยให้ดูว่าพลังงานในหนึ่งหน่วยบริโภคอยู่ที่เท่าไร เพื่อเอามาคำนวณกับปริมาณพลังงานที่เราควรได้รับต่อวัน ซึ่งผู้หญิงจะอยู่ราว ๆ 1,500-2,000 กิโลแคลอรี ส่วนผู้ชายจะอยู่ที่ 2,000-2,500 กิโลแคลอรี
- ปริมาณไขมัน ให้ดูที่ปริมาณไขมันอิ่มตัวว่าอยู่ที่เท่าไร ซึ่งไม่ควรเกิน 20 กรัมต่อวัน เนื่องจากเป็นสารอาหารที่ทำให้โคเลสเตอรอลสูงและเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ปริมาณน้ำตาล โดยในหนึ่งวันคนเราไม่ควรได้รับน้ำตาลเกินวันละ 24 กรัม หรือราว ๆ 6 ช้อนชา เพราะเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ อย่างโรคเบาหวาน เป็นต้น
- ปริมาณโซเดียม สำหรับคนที่มีสุขภาพปกติ ในหนึ่งวันไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน 2,300 มิลลิกรัม เนื่องจากจะทำให้เสี่ยงเป็นโรคไตได้
ข้อมูลโภชนาการที่ต้องการในแต่ละวัน
สร้างสุขภาพที่ดีด้วยการอ่านฉลากโภชนาการด้วยความเข้าใจ
- เปอร์เซ็นต์สารอาหาร บนฉลากโภชนาการนั้นอิงจากคนที่ต้องการปริมาณพลังงานไม่เกิน 2,000 กิโลแคลอรี ซึ่งในความเป็นจริงแต่ละคนมีความต้องการปริมาณพลังงานที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับเพศ อายุ และกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน
- ปริมาณสารอาหาร 0 กรัม อาจไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่มีสารอาหารนั้น ๆ อยู่เลย เพียงแต่กฎหมายกำหนดว่าถ้าสารอาหารไหนน้อยกว่า 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค สามารถระบุเป็น 0 กรัมได้ ดังนั้นคำว่า น้ำตาล 0 กรัม ก็อาจจะมีน้ำตาลแฝงอยู่ก็เป็นได้
- คำโฆษณาชวนเชื่อ อย่างไม่มีน้ำตาลหรือไขมันต่ำ ไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ จะดีต่อสุขภาพเสมอไป เพราะอาจจะมีสารอาหารไม่ดีอื่น ๆ แฝงตัวอยู่ ดังนั้นการอ่านฉลากโภชนาการ จึงเป็นสิ่งสำคัญและช่วยให้ไม่โดนหลอกได้นั่นเอง
ทั้งหมดนี้ก็ คือ วิธีการอ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้อ พร้อมข้อมูลโภชนาการที่คนเราต้องการในแต่ละวัน ซึ่งน่าจะช่วยให้ทุกคนเข้าใจและอ่านฉลากโภชนาการได้อย่างถูกต้องมากขึ้น และหากใครกำลังสนใจผลิตภัณฑ์อาหารดี ๆ ที่มีคุณภาพและมาพร้อมข้อมูลโภชนาการที่ครบครัน ก็สามารถซื้อสินค้า จาก NH Foods ไปลองกันได้ ซึ่งมีให้เลือกทั้งไส้กรอกแบบต่าง ๆ และอกไก่ปรุงรสที่มีให้เลือกหลายรสชาติ สะอาดปลอดภัยด้วยขั้นตอนการผลิตและแพ็กเกจจิ้งที่มีคุณภาพ
ผลิตภัณฑ์อาหารจาก NH Foods สามารถหาซื้อได้ที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วประเทศ ทั้ง Big C, The Mall, Tops Market และ Don Don Donki ช้อปได้ทุกที่ทุกเวลา NH Foods ผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมาะกับคนรักสุขภาพ เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีในแบบที่คุณต้องการ
สามารถสอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติม และติดตามข่าวสารโปรโมชั่นได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/nhfoodsthailand
Website : https://thainipponfoods.com/
Instagram : @thainipponfoods
LINE OA : @thainipponfoods
TikTok : https://www.tiktok.com/@thainipponfoods
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCFcXtn8BSj60qPPh9R1xLgQ