เคล็ดลับการดูแลเด็กแพ้อาหาร ช่วยป้องกันอาการแพ้ที่ไม่พึงประสงค์

โพสต์เมื่อ 14 มีนาคม 2566
: 4723
แชร์ :

Key Takeaways

  • เคล็ดลับการดูแลเด็กแพ้อาหาร ผู้ปกครองจะต้องคอยตรวจสอบฉลากอาหารทุกครั้ง, ใส่ใจในการล้างภาชนะให้สะอาด, ระวังการใช้เครื่องครัวร่วมกัน, แยกสีถ้วยชามไว้โดยเฉพาะ, สอนให้ระมัดระวังเวลาทานอาหารนอกบ้าน และแจ้งรายละเอียดให้ญาติทราบเมื่อต้องฝากเลี้ยง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้ที่ไม่พึงประสงค์
  • ผู้ปกครองสามารถสังเกตอาการเด็กที่แพ้อาหารได้ง่าย ๆ ดังนี้ กลุ่มอาการเฉียบพลัน จะเริ่มมีอาการภายใน 2-4 ชั่วโมง ส่วนมากจะมีผื่นลมพิษ ปากบวม ตาบวม แต่หากรุนแรงจะมีอาการหอบเหนื่อย ความดันต่ำ และชัก ส่วนในกลุ่มอาการล่าช้า ผิวหนังจะเกิดผื่นแดง แห้ง และคัน หรืออาจจะมีอาการอาเจียน ถ่ายเหลวรุนแรง หรือถ่ายเป็นมูกเลือดได้

พ่อแม่หลายท่านเมื่อรู้ว่าลูกแพ้อาหาร นอกจากจะต้องคอยสังเกตอาการแพ้ของเด็ก ๆ แล้ว ก็ยังต้องใส่ใจในเรื่องอาหารการกินของเด็ก ๆ ให้มากเป็นพิเศษ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการป่วยที่ไม่พึงประสงค์ วันนี้เราจึงรวบรวมเคล็ดลับการดูแลเด็กที่แพ้อาหารมาฝากทุกคน เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ปกครองสามารถดูแลเด็ก ๆ ได้อย่างรัดกุมมากกว่าที่เคย

การแพ้อาหารในเด็ก

ภาพ: รอยแดงบนผิวเด็ก

วันดีคืนดีลูกน้อยก็มีผื่นลมพิษขึ้นตามตัวแบบไม่ทราบสาเหตุ นั้นอาจจะเป็นหนึ่งสัญญาณที่กำลังบอกคุณพ่อคุณแม่ว่า ลูกของคุณแพ้อาหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องคอยดูแลและใส่ใจอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเด็ก ๆ ยังไม่สามารถดูแลเรื่องอาหารการกินของตัวเองได้เหมือนผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ที่แพ้อาหารยังรู้วิธีการหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านั้นได้ แต่สำหรับเด็กแพ้อาหารต้องคอยให้ผู้ปกครองช่วยดูแล เพื่อป้องกันอาการแพ้ที่ไม่พึงประสงค์

ภาพ: รอยแดงบนผิวเด็ก

ซึ่งเด็กที่แพ้อาหาร ผู้ปกครองสามารถสังเกตอาการง่าย ๆ ดังนี้

  1. กลุ่มอาการเฉียบพลัน เด็กแพ้อาหารจะเริ่มมีอาการภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังกินอาหารที่แพ้เข้าไป ส่วนมากจะมีอาการที่ผิวหนัง ทั้งผื่นลมพิษ ปากบวม หรือตาบวม แต่หากแพ้รุนแรงจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการหอบเหนื่อย ความดันต่ำ และอาจจะถึงขั้นชักได้
  2. กลุ่มอาการล่าช้า หากเป็นภูมิแพ้อาหารที่ผิวหนัง ก็จะเกิดผื่นแดง ผิวแห้ง พร้อมมีอาการคัน ซึ่งในเด็กแพ้อาหารจะเกิดผื่นบริเวณแก้มหรือข้อพับ แต่หากเป็นภูมิแพ้อาหารที่ระบบทางเดินอาหาร อาจมีอาการอาเจียน ถ่ายเหลวรุนแรง หรือถ่ายเป็นมูกเลือดได้

ตัวอย่างอาหารที่เด็กหลายคนแพ้

ภาพ: อาหารที่เด็กหลายคนแพ้

อาหารแต่ละชนิดส่งผลต่ออาการและความรุนแรงที่แตกต่างกัน ในบางรายเคยพบประวัติแพ้ในตอนเด็ก แต่หลังจากเลี่ยงการกินไปเป็นเวลานาน บางรายก็อาจจะหายได้เมื่อโตขึ้น ซึ่งตัวอย่างอาหารที่เด็กหลายคนแพ้ มีดังนี้

  • โปรตีนนมวัว เด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 4 เดือน แล้วได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนมวัว หรือคุณแม่ที่ดื่มนมวัวตอนท้อง สามารถทำให้ลูกมีโอกาสแพ้โปรตีนใน หรือน้ำตาลแลคโตสในนม
  • ถั่ว ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้สูง โดยเฉพาะเด็ก ๆ ในแถบตะวันตก
  • แป้งสาลี ในเด็กอ่อนอาจพบแป้งสาลีในซีรีแล็ค หรืออาหารจำพวกขนมปัง และอาหารประเภทเส้น อย่างสปาเก็ตตี้หรือมะกะโรนี ซึ่งสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้อาหารได้ง่าย
  • อาหารทะเล จำพวก กุ้ง หอย ปู และปลา สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้มากกว่า พวกปลาดุกและปลานิล ที่เป็นสัตว์น้ำจืด
  • ไข่ขาว เนื่องจากในไข่ขาวมีโปรตีนที่สามารถกระตุ้นการแพ้ได้ ผู้ปกครองจึงควรให้ลูกน้อยหลีกเลี่ยงการทานไข่ขาวในช่วงแรก และเริ่มทานตอน 6 เดือนขึ้นไป เพื่อลดโอกาสแพ้
  • อาหารแปรรูป ด้วยส่วนผสมของอาหารแปรรูปที่มีความหลากหลาย จึงทำให้เด็กเล็กมีโอกาสแพ้ได้ ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าเชื่อถือ ได้รับมาตรฐาน และมีฉลากระบุส่วนผสมที่เสี่ยงต่อการแพ้ไว้อย่างชัดเจน

สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กแพ้อาหาร

ภาพ: รอยแดงบนผิวเด็ก

ครอบครัวมีประวัติโรคภูมิแพ้ เป็นสาเหตุที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เนื่องจากหากพ่อแม่มีประวัติแพ้อาหารหรือเป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน ลูก ๆ ก็ย่อมได้รับความเสี่ยงที่มากขึ้น

  1. ไม่ได้กินนมแม่ โดยเฉพาะเด็กเล็กหรือช่วงอายุประมาณ 1 เดือนแรก หากไม่ได้กินนมแม่ จะส่งผลให้เกิดภูมิแพ้อาหารได้ง่ายกว่าเด็กคนอื่น ๆ
  2. คุณแม่กินอาหารชนิดเดียวซ้ำ ๆ หรือไม่ได้เลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ ในช่วงกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมลูก ก็สามารถไปกระตุ้นให้ลูกน้อยเกิดอาการแพ้อาหารเหล่านั้นได้เช่นกัน
  3. ระบบย่อยอาหารยังทำงานไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ทำให้เมื่อมีอาหารเข้าสู่กระแสเลือด แล้วไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ก็อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ตามมาได้
  4. ร่างกายขาดวิตามินดี เนื่องจากวิตามินดีเป็นส่วนช่วยในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้เด็กที่ขาดวิตามินดีมีความเสี่ยงที่จะเป็นภูมิแพ้อาหารได้

เคล็ดลับการดูแลเด็กแพ้อาหาร

1. ตรวจสอบฉลากอาหารทุกครั้ง

ภาพ: การตรวจสอบฉลากอาหาร

ไม่ว่าจะเป็นขนมหรืออาหารสำเร็จรูป ก่อนซื้อมาให้ลูกน้อยทาน ผู้ปกครองควรตรวจสอบฉลากอาหารด้านหลังเสียก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงส่วนผสมที่ก่อให้เกิดอาการแพ้อาหารที่ไม่พึงประสงค์ เนื่องจากรูปลักษณ์ภายนอกไม่สามารถบ่งบอกถึงส่วนประกอบภายในทั้งหมดได้ ซึ่งฉลากด้านหลังมักมีการแจ้งส่วนผสมที่เสี่ยงต่อการแพ้เอาไว้ เช่น แป้งสาลี นม และถั่วเหลือง เป็นต้น เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค

2. ล้างภาชนะให้สะอาด

ภาพ: การล้างภาชนะ

เป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้อาหารในเด็กเล็กได้ หากไม่ได้ใส่ใจในขั้นตอนนี้มากพอ โดยผู้ปกครองจะต้องนำภาชนะและช้อนส้อมที่ใช้แล้วของลูกน้อย มาแช่ในน้ำที่มีน้ำยาล้างจาน จากนั้นค่อยนำไปล้างต่อด้วยฟองน้ำให้สะอาด โดยเฉพาะบ้านไหนที่ใช้เครื่องล้างจานเป็นหลัก ก็ต้องนำภาชนะมาแช่ในน้ำที่มีน้ำยาล้างจานก่อนที่จะเอาเข้าเครื่องล้างจาน เพื่อกำจัดสารก่อภูมิแพ้ และที่สำคัญผู้ปกครองควรใช้ฟองน้ำล้างจานของเด็กแพ้อาหารแยกกับของคนอื่น และควรเปลี่ยนเป็นประจำเพื่อสุขอนามัยที่ดี

3. ระวังการใช้เครื่องครัวร่วมกัน

ภาพ: การทำอาหาร

ขั้นตอนการปรุงอาหารก็เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ปกครองต้องให้ความใส่ใจ เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของสารก่อภูมิแพ้ในอาหารแต่ละมื้อ จึงควรปรุงอาหารของเด็กแพ้อาหารแยกกับเด็กคนอื่น ๆ โดยการใช้หม้อ กระทะ และทัพพี แยกกัน หรือไม่ก็อาจจะปรุงอาหารของเด็กที่แพ้อาหารให้เสร็จก่อน จากนั้นค่อยใส่ส่วนผสมที่มีสารก่อภูมิแพ้ทีหลัง เช่น ไข่หรือถั่วลิสง เป็นต้น

4. แยกสีถ้วยชามไว้โดยเฉพาะ

ภาพ: ถ้วยชาม

บ้านไหนที่มีสมาชิกหลายคนอาจเกิดความสับสนในระหว่างจัดเตรียมอาหารได้ ดังนั้นทางที่ดีควรแยกสีถ้วยชามและช้อนส้อมของเด็กที่แพ้อาหารเอาไว้โดยเฉพาะ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ปกครองเกิดความสับสนเวลาเตรียมอาหาร หรือไม่ก็อาจจะกำหนดที่นั่งเฉพาะของลูกน้อยที่แพ้อาหารเอาไว้ และทำการเตรียมอาหารของลูกคนนั้นเป็นอันดับแรก เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้ที่ไม่พึงประสงค์

5. สอนให้ระมัดระวังเวลาทานอาหารนอกบ้าน

ภาพ: ผู้ปกครองและเด็ก

ขั้นตอนการปรุงอาหารก็เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ปกครองต้องให้ความใส่ใจ เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของสารก่อภูมิแพ้ในอาหารแต่ละมื้อ จึงควรแน่นอนว่าผู้ปกครองคงไม่ได้อยู่กับลูก ๆ ตลอดทั้งวัน เพราะอย่างไรเด็ก ๆ ก็ต้องไปโรงเรียน บางครั้งต้องไปทัศนศึกษาข้างนอกโรงเรียน หรือบางทีลูกของเราอาจถูกเพื่อนชวนไปงานวันเกิดที่จัดขึ้นที่บ้านของเพื่อนลูก ทำให้เราไม่สามารถดูแลลูกน้อยได้ตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรคอยสอนให้เด็ก ๆ ระมัดระวังในการทานอาหารนอกบ้าน โดยบอกสิ่งที่ลูกทานไม่ได้ให้เขาทราบ รวมถึงอาจทำเป็นโน้ตเล็ก ๆ ที่เกี่ยวกับรายการอาหารที่เขาแพ้ ให้ลูกน้อยพกติดตัวเอาไว้ ก็เป็นเคล็ดลับที่ช่วยได้เช่นกัน

6. แจ้งดีเทลให้ญาติทราบเมื่อต้องฝากเลี้ยง

ภาพ: ผู้ปกครองและเด็ก

ในบางวันที่ผู้ปกครองมีธุระต้องไปทำ อาจจะวันเดียวหรือหลายวัน ทำให้ไม่ว่างดูแลลูกน้อยด้วยตัวเอง จึงจำเป็นต้องไปฝากคนอื่น ๆ ช่วยดูแล ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนบ้านที่สนิทกันหรือญาติ ๆ ของเราเอง ก็ควรแจ้งรายละเอียดของอาหารที่ลูกน้อยแพ้ให้คนเหล่านั้นทราบ เช่น ไข่ นม และแป้งสาลี เป็นต้น โดยอาจจะส่งลิสต์ไปในไลน์หรือเขียนใส่กระดาษโน้ตไว้ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งเป็นเคล็ดลับที่ช่วยหลีกเลี่ยงอาการแพ้อาหารที่ไม่พึงประสงค์ได้เป็นอย่างดี

ทั้งหมดนี้ คือ เคล็ดลับการดูแลเด็กแพ้อาหารที่ช่วยป้องกันอาการแพ้ที่ไม่พึงประสงค์ ที่ผู้ปกครองทุกท่านสามารถนำไปปรับใช้กันได้ โดยผู้ปกครองต้องหมั่นสังเกตอาการลูก ๆ หลังทานอาหาร เพื่อป้องกันอาการแพ้ที่รุนแรงได้ทัน และหากผู้ปกครองท่านใดกังวลว่าลูกของเราจะแพ้อาหารอะไรเพิ่มอีกหรือไม่ สามารถพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและขอคำปรึกษาเพิ่มเติมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อยืนยันชนิดอาหารที่แพ้ รวมถึงระดับความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ลูกของเราห่างไกลอาการแพ้ที่ไม่พึงประสงค์ได้ดีที่สุด

ซึ่งนอกจากการพาไปพบแพทย์จะสำคัญแล้ว การดูแลเด็กแพ้อาหารก็สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งต้องอาศัยความรอบคอบและการใส่ใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ได้รับมาตรฐาน และมีฉลากระบุส่วนผสมไว้อย่างชัดเจน ผลิตภัณฑ์จาก NH Foods ที่นอกจากจะมีฉลากบอกส่วนผสมแล้ว ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ อย่างละเอียด ทั้งข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร  วิธีการทาน วัตถุดิบ ที่สามารถหาอ่านได้จากเว็บไซต์โดยตรง


สามารถสอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติม และติดตามข่าวสารโปรโมชั่นได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/nhfoodsthailand
Website : https://thainipponfoods.com/
Instragram : @thainipponfoods
LINE OA : @thainipponfoods
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCFcXtn8BSj60qPPh9R1xLgQ

Top